ชื่อเจ้าของโครงการ มนตรี อุดมฉวี

เบอร์โทร 0933658850

E-mail Montree_u@yahoo.com

รายละเอียดโครงการ

Step 1 ข้อมูลทั่วไป

รายละเอียดของผลงาน และความเป็นนวัตกรรม

          ปัจจุบันประเทศไทยมีการใช้ถุงเพาะเชื้อเห็ดกว่า 1,000 ล้านใบต่อปี และเมื่อมองไปยังตลาดทั่วโลกมีอีกหลายประเทศที่มีการใช้ถุงพลาสติกสำหรับเพาะเลี้ยงเห็ด ซึ่งมากกว่าประเทศไทยหลายสิบเท่า จะเห็นได้ว่าในแต่ละปีความต้องการในการบริโภคเห็ดเพิ่มสู่มากขึ้น เนื่องมาจากความต้องการในการบริโภคเห็ดที่นอกจากกลุ่มที่ใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับทำเป็นอาหารแล้ว ยังมีกลุ่มของคนรักสุขภาพ กลุ่มคนรับประทานมังสวิรัติ อุตสาหกรรมเกี่ยวกับยาและอาหารเสริมเพื่อสุขภาพด้วย นอกจากขนาดตลาดของเห็ดที่เติบโตอย่างอย่างรวดเร็วแล้ว ปริมาณการใช้ถุงพลาสติกก็เพิ่มสูงขึ้นด้วยเช่นกัน โดยถุงเพาะเชื้อเห็ดที่ใช้ทั่วไป ทำมาจาก Polypropylene ซึ่งเป็นพลาสติกที่ย่อยสลายไม่ได้ ก่อให้เกิดปัญหาขยะจำนวนมาก อีกทั้งปัญหาที่พบส่วนใหญ่คือปัญหาเชื้อรา ทางกลุ่มวิจัยจึงได้คิดและทำถุงเพาะเชื้อเห็ดย่อยสลายได้ (Bio-plast Mushroom bags) นี้ขึ้นมา จากประสบการณ์การเพาะเห็ดของสมาชิกในกลุ่ม(เคยเพาะเห็ดฟางมาแล้ว 10ปี) ที่ได้เคยตั้งขอสังเกตว่า “ทำไมเกษตรกรเพาะเห็ดฟางจึงต้องนำ นมเปรี้ยว ไข่ และแป้ง มาหมักไว้คืนหนึ่งก่อนนำไปฉีดให้กับเห็ด” จากการค้นคว้าพบว่าในนมเปรี้ยวนั้น มีจุลินทรีย์ที่ชื่อว่า “แลคโตบาซิลัส” ซึ่งสามารถผลิตกรดแลคติคได้ และจากการศึกษางานวิจัยพบว่า lactic acid นั้นสามารถช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของสปอร์ราได้ อีกทั้งยังช่วยให้เส้นใยเห็ดเจริญเติบโตได้ดียิ่งขึ้นด้วย ทางกลุ่มวิจัยจึงมีแนวคิดที่จะนำ biodegradable plastic อย่าง  Polylactic acid มาใช้ทำถุงเพาะเชื้อเห็ดที่ย่อยสลายทางชีวภาพด้วย เพื่อช่วยลดปัญหาเชื้อรา ปัญหาการจัดการขยะให้กับเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงเห็ดด้วย 
            โดยจุดเด่นของถุงเพาะเชื้อเห็ดที่มีถุกพัฒนาขึ้นคืออัตราการซึมผ่านของน้ำที่ดีกว่าถุงที่ใช้ทั่วไป (Water permeability)ทำให้ไม่เกิดการขังของน้ำภายในถุง ซึ่งเห็ดสาเหตุที่ทำให้ก้อนเห็ดเน่า การดูแลรักษาก้อนเห็ดจึงง่ายกว่าการใช้ถุงที่ใช้ทั่วไป (Polypropylene)
            ช่วยให้เส้นใยเห็ดเจริญเติบโตได้ดี (Growth rate) ถุงเพาะเชื้อเห็ดของเราสามารถช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของสปอร์ราได้ อีกทังยังช่วยให้เส้นใยเห็ดเจริญเติบโตได้ดียิ่งขึ้นด้วย
            ลดปัญหาขยะ (Reduce plastic waste) ช่วยลดปัญหาขยะ และการเกิดไมโครพลาสติกปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อม
            ลดกระบวนการทำงาน  (Reduce the process) ถุงเพาะเชื้อเห็ดของเราช่วยลดกระบวนการทำงานแบบเดิม ในการแยกถุงพลาสติกออกจากวัสดุเพาะเห็ด
            ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ (Compostable) พอลิเมอร์ที่ใช้ทำผลิตภัณฑ์ของเรานั้นทำมาจากBiodegradable Plastics ซึ่งสังเคราะห์ได้จาก ข้าวโพด อ้อย และมันสำปะหลัง
            การทำถุงเพาะเชื้อเห็ดจากพลาสติกชีวภาพ ให้มีคุณสมบัติทนความร้อนและสมบัติเชิงกลที่ดีเหมาะสมต่อการนำไปใช้ทำถุงเพาะเลี้ยงเห็ด ซึ่งมีทั้งกระบวนการอัดก้อนเห็ด กระบวนการนึ่งด้วยไอน้ำที่อุณหภูมิ 90-100 องศาเซลเซียส เป็นเวลานานหลายชั่วโมง ซึ่งการทำถุงเพาะเชื้อเห็ดจากพลาสติกชีวภาพ ให้มีสมบัติทางความร้อนและสมบัติเชิงกลที่กับการถุงเพาะเชื้อเห็ดนั้นทำได้ยาก แต่เราได้ทำวิจัยจนสามารถทำให้เกิดขึ้นได้
 

เอกสารอ้างอิง (ถ้ามี)

แผนธุรกิจที่คาดว่าจะดำเนินการในอนาคต

ด้านตลาด      
            ข้อมูลสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ในปี พ.ศ. 2558 "ประเทศไทยมีการเพาะเห็ดจำนวนมาก ผลผลิตรวม 15,000 ตัน/ปี ส่วนใหญ่เป็นเห็ดฟางและเห็ดที่เพาะในถุงพลาสติก" และในแต่ละปีมีผลิตเชื้อเห็ดกว่า 20 ล้านขวด (ผลิตก้อนเห็ดได้ 1,000 ล้านก้อน) และข้อมูลจากนายกสมาคมนักวิจัยและเพาะเห็ดแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ในปี พ.ศ. 2559 ผลผลิตรวม 120,000 ตัน/ปี จะเห็นได้ว่าในแต่ละปีความต้องการในการบริโภคเห็ดเพิ่มสู่มากนั้น เนื่องมาจากความต้องการในการบริโภคเห็ดที่นอกจากกลุ่มที่ใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับทำเป็นอาหารแล้ว ยังมีกลุ่มของคนรักสุขภาพ กลุ่มคนรับประทานมังสวิรัติ อุตสาหกรรมเกี่ยวกับยาและอาหารเสริมเพื่อสุขภาพด้วย นอกจากขนาดตลาดของเห็ดที่เติบโตอย่างอย่างรวดเร็วแล้ว ปริมาณการใช้ถุงพลาสติกก็เพิ่มสูงขึ้นด้วยเช่นกัน ทางกลุ่มวิจัยจึงได้คิดและทำถุงเพาะเชื้อเห็ดย่อยสลายได้ (Bio-plast Mushroom bags) นี้ขึ้นมา โดยถุงเพาะเชื้อเห็ดผลิตจาก Biodegradable Plastic หรือ Compostable Plastic ซึ่งสามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ เพื่อช่วยลดปัญหาขยะที่เกิดจากการใช้ถุงพลาสติกจำนวนมากเหล่านี้ โดยในปัจจุบันการตระนักเห็นถึงปัญหาพลาสติกที่ไม่ย่อยสลายหรือใช้เวลาในการย่อยสลายนาน ทั้งในและต่างประเทศ และในหลายประเทศได้มีการสั่งห้ามใช้พลาสติกที่ไม่ย่อยสลาย ประเทศไทยเองเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงซึ่งเห็นได้จากนโยบายต่าง ๆ ของภาครัฐ ทำให้เป็นผลดีต่อเราผู้ผลิตฺ Biodegradable Plastic ซึ่งเราเป็นเจ้าแรกที่ทำการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ถุงเพาะเชื้อเห็ดย่อยสลายได้ที่ใช้เป็น
 ตลาดเป้าหมาย
            เป้าหมายของเราจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกเราจะเริ่มที่ฟาร์มเพาะเห็ดในจังหวัดนครปฐม ซึ่งเราได้รับการสนับสนุนจากหลายฟาร์มในช่วงที่เราได้ทำวิจัย และจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งเราจะได้รับการสนับสนุนจากนายอำเภอและเกษตรอำเภอ ซึ่งรู้จักกับสมาชิกกลุ่มวิจัยของเรา กลุ่มที่สอง เราจะทำการตลาดไปยังกลุ่มลูกค้าในกลุ่มของคนรักษ์โลก ฟาร์มหรือองค์กรที่ต้องการสร้างภาพลักษณ์ให้กับองค์กรนั้นๆ เนื่องจากกลุ่มเหล่านี้นอกจากมีกำลังซื้อที่มากแล้ว ยังเป็นกลุ่มที่ช่วยขยายตลาดให้กับเราด้วย โดยเริ่มจากสมาชิกในกลุ่ม “ชมรมเพาะเห็ดแห่งประเทศไทย” ซึ่งเราได้เป็นสมาชิกอยู่ในนั้นด้วย (สมาชิกกว่า 27,000 คน) โดยมีประมาณร้อยละ 5 ของสมาชิกทั้งหมด ทำธุรกิจเกี่ยวกับเกษตรรักษ์โลก อาทิเช่น ฟาร์มที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงเกษตร กลุ่มเกษตรอินทรีย์ เป็นต้น นอกจากกลุ่มลูกค้าเหล่านี้จะช่วยเพิ่มคุณค่าของผลิตภัณฑ์ (Product value) ของเราแล้ว ยังเป็นช่วยให้ความรู้ความเข้าใจแก่คนทั่วไป ช่วยโฆษณา เป็นตัวอย่างที่ดีแก่ผู้ที่สนใจ และช่วยทำให้ผลิตภัณฑ์ของเราติดตลาดได้เร็วยิ่งขึ้น ส่วนกลุ่มที่สามเราจะทำการขยายตลาดไปยังเกษตรกร อีกทั้งเรายังได้รับการสนับสนุนจากอุทยานศูนย์ชัยพัฒนาฯที่พร้อมส่งเสริมทั้งในเรื่องของการอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรและศูนย์จำหน่ายสินค้า (ร้านภัทรพัฒน์) ทำให้เกษตรกรสามารถซื้อผลิตภัณฑ์ของเราได้สะดวกยิ่งขึ้น นอกจากนี้เราไม่ได้มองตลาดแค่เฉพาะเพียงในประเทศเท่านั้น เรายังมองไปยังตลาดในต่างประเทศด้วย เพราะปริมาณการเพาะเห็ดของไทยเมื่อเทียบกับตลาดโลกยังถือว่าเป็นตลาดขนาดกลางเท่านั้น อีกทั้งในต่างประเทศก็ยังใช้ถุงเพาะเชื้อเห็ดแบบเดิมๆที่ทำมาจาก Polypropylene
           
ส่วนแบ่งทางการตลาด
            UploadImage
            เราเป็นรายแรกที่ผลิตถุงเพาะเชื้อเห็ดย่อยสลายได้นี้ขึ้นมาและปัจจุบันจึงยังไม่มีคู่แข่งที่ผลิตถุงเพาะเชื้อเห็ดย่อยสลายได้เหมือนกันกับเรา เนื่องด้วยการจะผลิตฟิล์มจาก Bio-Plastic ที่สามารถทนความร้อนนั้นทำได้ยาก คู่แข่งของเราในปัจจุบันก็คือผู้ผลิตถุงเพาะเชื้อเห็ดที่ทำมาจาก Polypropylene (PP) ซึ่งเป็นพลาสติกที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ ซึ่งทางบริษัทเราเป็นบริษัทแรกและยังคงเป็นบริษัทเดียวที่ทำการผลิตถุงเห็ดที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ ปัจจุบันในประเทศไทยมีการใช้ถุงเห็ดมากถึง 1,000 ล้านใบ/ปี โดยในปีแรกทางเรามีการลองตลาด โดยจะให้เกษตรกรและฟาร์มได้นำไปลองใช้ (อาจให้ไปลองใช้ฟรี แต่ต้องช่วยเก็บข้อมูลให้กับทางทีมวิจัยของเรา เพื่อให้เกษตรกรและฟาร์มได้มองเห็นถึงข้อดีจากการใช้ผลิตภัณฑ์ อีกทั้งยังช่วยให้เราประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายการทำวิจัย เพราะเราไม่ต้องมาเพาะเลี้ยงเห็ดเอง และเราจะได้ทำการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้น ส่วนในปีที่สองเราจะเริ่มทำผลิตภัณฑ์ออกจำหน่าย โดยเริ่มจาก 3 กลุ่มดังที่กล่าวไว้ในข้างต้นของตลาดเป้าหมาย และปีที่ 3 เราตั้งเป้าไว้ที่ 20% ของตลาดในประเทศ ( 200 ล้านใบ/ปี ) 

หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน

-ได้รับการสนับสนุนจากอุทยานศูนย์ชัยพัฒนา จังหวัดนครปฐม ที่พร้อมส่งเสริมทั้งในเรื่องของการอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรและศูนย์จำหน่ายสินค้า (ร้านภัทรพัฒน์)

Step 2 ข้อมูลโครงการ (ระหว่างการพัฒนา) ปัจจุบัน

โครงการ (ระหว่างการพัฒนา) ปัจจุบัน

โครงการอยู่ในระหว่างติดต่อผู้ประกอบการ

มีผลการทดสอบโครงการ

มี

ผลการทดสอบ

ครั้งที่ รายละเอียด รูปภาพ
1 เครื่องอัดรีดพลาสติกแบบเกลียวหนอนคู่ (Twin screw extruder ) เมื่อได้สูตรตามที่ต้องการแล้วจะนำสารตั้งต้นทั้งหมดมาทำการผลิตเป็นเม็ดพลาสติกผ่านเครื่องนี้ โดยเครื่องนี้จะสามารถผลิตเม็ดพลาสติกได้ในประมาณที่มากตามที่ต้องการ
2 เครื่องเป่าฟิล์ม (blown Film Extrusion ) เมื่อได้เม็ดพลาสติกมาแล้วจะมาทำการขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ถุงเพาะเลี้ยงเชื้อเห็ดโดยการblown film extrusion เพื่อให้ได้เป็นถุงออกมา
3 . ทดสอบค่าพลังงานความร้อนและอุณหภูมิของสารตัวอย่างเปรียบเทียบกับสารมาตรฐานเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพเบื่องต้น
4 เครื่องทดสอบค่าพลังงานความร้อนและอุณหภูมิของสารตัวอย่างเปรียบเทียบกับสารมาตรฐานเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ หรือการเปลี่ยนแปลงทางเคมี Differential Scanning Calorimetry (DSC)
5 เครื่องทดสอบสมบัติเชิงกลของวัสดุ Universal testing machine เครื่องมือที่ใช้ทดสอบสมบัติเชิงกลของฟิล์ม เพื่อหาสูตรที่เหมาะสม สามารถทนต่อแรงอัด ในกระบวนการอัดวัสดุเพาะเชื้อ เพื่อทำก้อนเพาะเลี้ยงเชื้อเห็ด และยังสามารถดูค่าความเหนี่ยวของฟิล์มเพื่อประกอบการตัดสินใจเลือกสูตรของผลิตภัณฑ์
6 เครื่องมือทดสอบการซึมผ่านของน้ำ (Cup Method) การทดสอบการซึกผ่านของน้ำ โดยหาน้ำหนักของน้ำที่หายไปภายในถ้วย (Cup) ที่ระเหยผ่านฟิล์มต่อเวลาและพี้นที่ ซึ่งควบคุมสภาวะที่อุณหภูมิ 25-28 องศาเซลเซียส และความชื้นสัมพัทธ์ 75-85% (สภาวะเดียวกันกับในโรงเรือน)
7 ขึ้นรูปฟิล์มแล้วตัดตามรูปทรงที่ต้องการได้เป็นถุงเพาะเชื้อเห็ดย่อยสลายได้ทดลองการเพาะเห็ด
8 เปลียบเทียบอัตราของเส้นใยเห็ดเจริญเติบโตได้ดี (Growth rate) ถุงเพาะเชื้อเห็ดของเราสามารถช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของสปอร์ราได้ อีกทังยังช่วยให้เส้นใยเห็ดเจริญเติบโตได้ดียิ่งขึ้นด้วย
9 ทดสอบการเพาะเชื้อเห็ดในโรงเรือน

แผนธุรกิจ

Step 3 Biz Model Prototype

แนบภาพรูป

รายละเอียดข้อมูลการพัฒนาชิ้น

วัตถุประสงค์และตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ

วัตถุประสงค์
     1.ผลิตถุงเพาะเชื้อเห็ดที่สามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ
     2.ผลิตถุงที่มีสมบัติเชิงกลที่ดีและเหมาะต่อการนำมาใช้ทำถุงเพาะเชื้อเห็ด
     3.ผลิตถุงที่มีสมบัติเชิงทางความร้อนที่ดีและเหมาะต่อการนำมาใช้ทำถุงเพาะเชื้อเห็ด
     4. ผลิตถุงเพาะเชื้อเห็ดที่สามารถช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของสปอร์ราได้ อีกทั้งยังช่วยให้เส้นใยเห็ดเจริญเติบโตได้ดียิ่งขึ้นด้วย
     5. ถุงเพาะเชื้อเห็ดที่ได้ต้องมีอัตราการซึมผ่านของน้ำที่ดีกว่าถุง PP

ตัวชี้วัด
     1.การลดลงของน้ำหนักโมเลกุลของพอลิเมอร์ เมื่อถุงผ่านกระบวนการนึ่ง, กระบวนการบ่มเชื้อ, การเพาะเลี้ยงในโรงเรือน และหลังการบวนการหมักถุงต้องย่อยสลายจนหมดหรือฟิล์มมีขนาดที่เล็ก
     2.ถุงสามารถนำมาใช้อัดก้อนเชื้อเห็ดได้
     3.ถุงสามารถทนต่อกระบวนการนึ่งที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียสเป็นเวลา ประมาณ 2-4 ชั่วโมง
     4.ชนิดและปริมาณของสารที่ได้ระหว่างกระบวนการย่อยสลายของพอลิเมอร์ที่ใช้ทำถุง
     5.เปรียบเทียบโดยใช้ Cup Method ต้องมีอัตราการซึมผ่านของน้ำที่ดีกว่าถุง PP

 ข้อมูลด้านเทคโนโลยี
      
      วัตถุดิบและสารเคมี

             - Poly (lactic acid) (PLA) ค่าความหนาแน่น 1.24 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร อุณหภูมิจุดหลอมเหลวอยู่ที่ 175 °C อุณหภูมิการเปลี่ยนสถานะคล้ายแก้วอยู่ที่ 57 °C
            - Polybutylene adipate-co-terephthalate (PBAT) ชื่อทางการค้า Ecoflex® ค่าความหนาแน่น 1.25-1.27 g/cm3 ค่า Tm อยู่ที่ 110 Cº ถึง 125 Cº และค่า Tg อยู่ที่ –35 Cº ถึง -25 Cº
             - Polybutylene succinate (PBS)  มีโครงสร้างเป็นโซ่ตรงและมีหมู่เอสเทอร์ ทำให้ PBS มีอุณหภูมิการหลอมเหลวและความเป็นผลึกสูง ทนความร้อนสูง มีคุณสมบัติเชิงกลคล้ายคลึงกับพอลิเอทิลีน

      เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

1. เครื่องผสม (Internal mixer) ชื่อเครื่อง CT Internal Mixer

            เครื่องผสมขนาดเล็กใช้ในการผสม Polymer ตามสูตรที่ต้องการให้เข้ากันเพื่อนำไปทดสอบในขั้นตอนต่อไป ก่อนที่จะนำสูตรที่พึงพอใจไปผลิตในเครื่องมือที่ใหญ่ขึ้น และเครื่องนี้ยังสามารถรายงานค่าแรงบิดที่ได้จากการผสมเพื่อประกอบการตัดสินใจของผู้ทดลอง
 
2. เครื่องวัดดัชนีการไหล (Melt Flow Index) จากบริษัท Chareon TUT รุ่น Plastometer (MFR1)
            เครื่องหาดัชนีการไหลหรือค่าความหนืดของ Polymer ซึ่งจะทำการทดสอบเพื่อหาค่าความหนืดของเม็ดพลาสติกในสูตรต่างๆ ที่เหมาะสมต่อการนำไปขึ้นรูปเป็นฟิล์ม
 
3. เครื่องอัดรีดพลาสติกแบบเกลียวหนอนคู่ (Twin screw extruder ) รุ่น SHJ-25 ประเทศจีน
            เมื่อได้สูตรตามที่ต้องการแล้วจะนำสารตั้งต้นทั้งหมดมาทำการผลิตเป็นเม็ดพลาสติกผ่านเครื่องนี้ โดยเครื่องนี้จะสามารถผลิตเม็ดพลาสติกได้ในประมาณที่มากตามที่ต้องการ

4. เครื่องเป่าฟิล์ม (blown Film Extrusion )
            เมื่อได้เม็ดพลาสติกมาแล้วจะมาทำการขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ถุงเพาะเลี้ยงเชื้อเห็ดโดยการ blown film extrusion เพื่อให้ได้เป็นถุงออกมา

5. เครื่องทดสอบสมบัติเชิงกลของวัสดุ Universal testing machine ( Insron 5965, Series dual colum table frames)
            เครื่องมือที่ใช้ทดสอบสมบัติเชิงกลของฟิล์ม เพื่อหาสูตรที่เหมาะสม สามารถทนต่อแรงอัด ในกระบวนการอัดวัสดุเพาะเชื้อ เพื่อทำก้อนเพาะเลี้ยงเชื้อเห็ด และยังสามารถดูค่าความเหนี่ยวของฟิล์มเพื่อประกอบการตัดสินใจเลือกสูตรของผลิตภัณฑ์

6. เครื่องทดสอบค่าพลังงานความร้อนและอุณหภูมิของสารตัวอย่างเปรียบเทียบกับสารมาตรฐานเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ หรือการเปลี่ยนแปลงทางเคมี Differential Scanning Calorimetry (DSC)

 
7. เครื่องมือทดสอบการซึมผ่านของน้ำ (Cup Method)
            การทดสอบการซึกผ่านของน้ำ โดยหาน้ำหนักของน้ำที่หายไปภายในถ้วย (Cup) ที่ระเหยผ่านฟิล์มต่อเวลาและพี้นที่ ซึ่งควบคุมสภาวะที่อุณหภูมิ 25-28 องศาเซลเซียส และความชื้นสัมพัทธ์ 75-85% (สภาวะเดียวกันกับในโรงเรือน)
 
      แผนภาพกระบวนการผลิตโดยสังเขป(Process Flow Diagram)
1. ใช้ Internal Mixer ในการศึกษาและค้นหาอัตราส่วนที่เหมาะสมในการผลิตถุงเพาะเชื้อเห็ด
2. เมื่อได้อัตราส่วนที่เหมาะสมแล้วจึงนำมาผสมในปริมาณมาก โดยใช้ Twin Screw extruder ได้เป็นเส้นแล้วตัดด้วยเครื่องตัดออกมาเป็นเม็ดพลาสติกที่ต้องการ
3. นำเม็ดที่ได้ไปทดสอบ ความหนืดด้วย Melt flow Index เพื่อประเมินความเหมาะสมในการขึ้นรูปฟิล์ม
4. นำเม็ดที่ได้ขึ้นรูปฟิล์มแล้วตัดตามรูปทรงที่ต้องการได้เป็นถุงเพาะเชื้อเห็ดย่อยสลายได้
5. นำถุงที่ได้ไปทำการทดสอบคุณสมบัติต่างๆต่อไป

      เงื่อนไขอุตสาหกรรม ( IndustryCondition) 
            สำหรับเงื่อนไขอุตสาหกรรม Biodegradable plastic ได้ถูกแบ่งย่อยออกให้เข้าใจได้ถูกต้องตรงตามมาตรฐาน โดยบริษัทเรามุ้งเน้นในพลาสติกย่อยสลายได้แบบ “EDP” ที่แท้จริงต้องได้มาตรฐาน Compostable plastics ตามข้อกำหนดพลาสติกสลายตัวได้ เช่น ISO 17088 (สากล) หรือ ASTM D6400 (สหรัฐอเมริกา) หรือ EN 13432 (ยุโรป) หรือ มอก. 17088-2555 (ไทย)  
 

หน่วยงานที่ร่วมสนับสนุน

1.ภาควิชาวิทยาการและวิศวกรรมวัสดุ คณะวิศกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สนับสนุนด้านอุปกรณ์และห้องปฏิบัติการ 2. ผศ.ดร.ศุภกิจ สุทธิเรืองวงศ์ อาจารย์ที่ปรึกษาผู้สนับสนุนด้านวิชาการเสนอแนะแนวทางในการดำเนินงานวิจัยและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ตลอดจนให้ความรู้และคอยค

ข้อมูลเพิ่มเติมอื่นๆ

ระยะเวลาในการพัฒนา

1 ปี

Step 4 การดำเนินงานต่อไปของโครงการ

ครั้งที่ การดำเนินงาน
1 ศึกษาการทำการตลาดและกลุ่มลูกค้าว่ามีปัญหาอย่างไรต้องการวิธีการแก้ไขปัญหาในรูปแบบและวิธีการอย่างไรแล้วเก็บข้อมูลบันทึกผลเพิ่มเติม(เกษตรกผู้เพาะเลี้ยงเห็ด)
2 นำผลและข้อมูลมาวิเคราะห์หาปัญหาที่แท้จริงของลูกค้าเพื่อสร้างรูปแบบการแก้ไขบัญหาที่ตรงจุดเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์(ปัญหาเชื้อรา มีของเสียปริมาณมาก ปัญหาขยะพลาสติก ต้นทุนเพิ่มขึ้นในการจัดการ)
3 นำวิธีการแก้ไขปัญหาเสนอลูกค้าเพื่อให้ลูกค้าแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการแก้ไขปัญหา(ผลิดถุงเพาะเชื้อเห็ดย่อยสลายได้ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ป้องการการเกิดเชื้อรา มีอัตราการเติบโตของเส้นใยดีขึ้น)
4 ออกแบบการทดลองและจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการทดลองผลิตถุงเพาะเชื้อเห็ด
5 นำถุงเพาะเชื้อเห็ดให้เกษตรกรทำลองใช้และติดตามผลและความพึงพอใจ
6 ปรับปรุงคูณสมบัติของถุงเพาะเชื้อเห็ดตามที่ลูกค้าต้องการ
7 ทำการทดลองเพาะเชื้อเห็ดรวมถึงการทดสอบการย่อยสลายของถุงในกองปุ๋ยหมัก
8 ทำการตลาตโฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้าให้ข้อมูลและความรู้แก่ลูกค้าให้เห็นถึงข้อดีและข้อจำกัดของผลิตภัณฑ์
9 ออกหาลูกค้าในกลุ่มของเกษตรเชิงอนุรักษ์และเกษตรเชิงท่องเที่ยวที่ต้องการนวัตกรรมใหม่ๆไปใช้เพื่อดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวและเป็นผลดีกับผลิตภัณฑ์ในการช่วยโปรโมท
10 ติดต่อบริษัทขึ้นรูปพลาสติกและขึ้นรูปผลิตภัณฑ์แล้วจำหน่ายตามปริมาณการสั่งซื้อของลูกค้า

Step 5 สิทธิบัตร

ผลิตชิ้นงานสู่ตลาดวันที่

03 ตุลาคม 2562

จดสิทธิบัตร / อนุสิทธิบัตร เลขที่

ขายชิ้นงานแล้ว / จำนวน

จดบริษัท

Step 6 ผลงานปัจจุบัน

ปัจจุบันธุรกิจเป็งนอย่างไร

          เราได้จัดตั้งทีมSmart Bio - Plastic (SBP) โดยเราได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆขึ้นมาเพิ่มเติมไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ Smart apron ผ้ากันเปื้อนของเราสามมารถเข้าไปช่วยอุตสาหกรรมอาหาร โรงงานแปรรูปอาหารสด ถุงรักษ์โลก สามารถเข้าไปทดแทนถุงที่ใช้ในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นถุงร้อน ถุงแกง ถุงช็อปปิ้งต่างๆ เรามุ่งเน้นผลิตภัณฑ์พลาสติกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่ทำมาจาก Biodegradable Plastic หรือ Compostable Plastic ซึ่งสามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ โดยในปัจจุบันการตระนักเห็นถึงปัญหาพลาสติกที่ไม่ย่อยสลายทั้งในและต่างประเทศ โดยในหลายประเทศได้มีการสั่งห้ามใช้พลาสติกที่ไม่ย่อยสลายและประเทศไทยเองเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงซึ่งเห็นได้จากนโยบายต่าง ๆ ของภาครัฐ  ซึ่งเราไม่หยุดยั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์พลาสติกรักษ์โลกอยู่เพียงเท่านั้นเรายังมีเป้าหมายในการขยายการเติบโตไม่ว่าจะเป็น กลุ่ม Packaging บรรจุภัณฑ์อาหาร และถนอมอาหาร กลุ่มการเกษตร โดยอยู่ในส่วนของพลาสติกคลุมดิน ถุงเพาะชำ ถุงห่อผลไม้ โดยเราจะไม่เพียงสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่เพียงแต่ย่อยสลายได้เท่านั้น แต่เราจะสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ส่งเสริมให้ผลประกอบการ และผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ของเรามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จึงสามารถเรียกเราได้ว่าเป็น Smart Bio - Plastic อย่างแท้จริง
          ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมหรือติดตามการพัฒนาของพวกเราได้ที่เพจเฟสบุ๊ค Smart Bio-Plastic           

ปัญหาที่พบ

            - การทำการตลาตและการเข้าถึงลูกค้าเป็นส่วนที่ยังสามารถทำได้ยากซึ่งทีมเรายังขาดนักวางแผนการตลาดที่มีความสามารถเฉพาะทางในการที่จะวางแผนการตลาตต่อไป
            - ขาดเงินทุนสำหรับการเริ่มธุรกิจในช่วงแรก
            - ขาดการโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จัก

สิ่งที่ต้องการพัฒนาต่อ

            ขณะนี้เราได้ทำการศึกษามาจนถึงขั้นตอนการทดสอบการย่อยสลายซึ่งเห็นได้ว่า ในการฝังกลบถุงเพาะเชื้อเห็ดของเราเมื่อเวลาผ่านไป หนึ่งเดือนถุงเพาะเชื้อเห็ดของเราสามารถย่อยสลายไปมากถุง 70 เปอร์เซ็น ซึ่งเป็นที่น่าพอใจเป็นอย่างมากและเป็นการพิสูตรให้เห็นว่าถุงเพาะเชื้อเห็ดของเรา สามารถใช้งานได้จริง มีผลผลิตเป็นไปตามเป้าหมายที่เราตั้งไว้และที่สำคัญในขั้นตอนการย่อยสลายได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นอย่างมาก
            ซึ่งในลำดับต่อไปเราต้องการเงินลงทุนในการศึกษา และทดลองตลาด ทำการโปรโมท ผลิตภัณฑ์ให้ผู้คนที่สนใจได้รู้จักมากขึ้น 
            เราต้องการการสนับในการร่วมลงทุน ซึ่งเราไม่ได้มีเพียงผลิตภัณฑ์ ถุงเพาะเชื้อเห็ดย่อยสลายได้เพียงอย่างเดียว พวกเรามีผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพ อื่นๆไม่ว่าจะเป็น ผ้ากันเปื้อนรักษ์โลก ถุงขยะรักษ์โลกหลากสี ถุงรักษ์โลก ซึ่งล้วนแล้วผลิตมาจากพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ ที่เราพัฒนาขึ้นมาให้เมาะสมกับการใช้งานในสังคมปัจจุบัน
UploadImage

Thailand Innovation Awards 2019

ถุงเพาะเชื้อเห็ดย่อยสลายได้ Bio-Plast Mushroom bags

ถุงเพาะเชื้อเห็ดจากพลาสติกชีวภาพ ให้มีคุณสมบัติทนความร้อนและสมบัติเชิงกลที่ดีเหมาะสมต่อการนำไปใช้ทำถุงเพาะเลี้ยงเห็ดโดยมี อัตราการซึมผ่านของน้ำที่ดีกว่าถุงที่ใช้ทั่วไป (Water permeability) ช่วยให้เส้นใยเห็ดเจริญเติบโตได้ดี (Growth rate) ลดปัญหาขยะ (Reduc

ข้อเสนอแนะ

Validation code:

 
© 2018 NIA. All Rights Reserved