1. ติดต่อกับเจ้าของแฟรนด์ไชส์ร้านอาหารต่างๆ เพื่อขยายพื้นที่เขตให้บริการได้อย่างรวดเร็ว
2. ติดต่อกับเจ้าของกิจการร้านอาหารภายใน มหาวิทยาลัย และ โรงเรียน เพื่อเป็นต้นแบบแก่ร้านอาหาร
ภายนอกเพื่อเสริมสร้างความน่าเชื่อถือต่อการเสนอการติดตั้งบริการ
3. สร้างแหล่งกระจายสินค้ารายย่อยตามเขตรอยต่อจังหวัดต่างๆ เพื่อสามารถ ทำให้สามารถรับข้าวสารจากชาวนา
ที่สีโดยโรงสีชุมชน มารวมไว้ที่ส่วนกลางเพื่อทำการแพ็คและกระจายออกไป เพื่อเป็นการช่วยเหลือชาวนาโดยตรง
การที่จะทำให้ธุรกิจสามารถเติบโตได้อย่างก้าวกระโดดของเราคือการเร่งสร้าง branding ให้มีความน่าเชื่อถือ โดยเริ่มจากแหล่งที่เป็นมหาวิทยาลัยหรือโรงเรียน ที่มีโรงอาหาร เนื่องจากการที่เราเป็นนักศึกษาจะทำใ้หสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายเหล่านี้ได้ง่ายมากที่สุด และเมื่อมีฐานความน่าเชื่อถือของ branding มากพอ การจะขยายตัวต่อไปในพื้นที่ใกล้เคียงเราจะอ้างอิงจากแหล่งที่ใช้ระบบของเราและคำนวณความได้เปรียบให้ร้านอาหารที่ไปเสนอให้ดู และเห็นภาพได้ง่ายดาย และเมื่อขยายตัวได้ทั่วเขตสักเขตหนึ่ง จะทำให้การขยายตัวต่อไปทำได้ง่ายมาๆและจะเป็นการเติบโตแบบก้าวกระโดด
เมื่อพูดถึงการเกิดประโยชน์ในวงกว้าง เมื่อเราขยายตัวได้ทั่วพื้นที่ จะทำให้เรามี demand ที่มากพอและสม่ำเสมอในข้อมูลส่วนนี้เราจะสามารถแก้ปัญหาข้าวค้างสต๊อกให้ได้ทั้งโรงสีชุมชน โรงสีขนาดกลางและเล็ก ที่มีอยู่ทั่วประเทศรวมถึงจะเป็นการช่วยเหลือชาวนาที่เป็นกระดูกสันหลังของชาติ เนื่องจากการขายข้าวสารจะได้กำไรเป็นเกือบเท่าตัวของการขายข้าวเปลือกแบบที่ผ่านๆมา และด้านกิจการร้านอาหารก็จะทำให้มีรายได้จากค้าขายเพิ่มมากขึ้น และสามารถทำเค้าสามารถลดราคาอาหารได้ ทำให้ผู้บริโภครายย่อยสามารถซื้ออาหารรับประทานได้ในราคาที่ถูกลง
จะเห็นได้ว่าจากที่กล่าวมา เราสามารถช่วยเหลือกิจการร้านอาหาร โรงสี และเกษตรกร ได้ตั้งแต่ต้นน้ำ และนอกจากนั้นสามารถนำข้อมูล demand ที่ได้มาทำเป็น big data เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ธุรกิจอื่นๆต่อไปได้อีกด้วย
เนื่องจากปัจจุบันราคาข้าวเปลือกตกต่ำ(ข้าวที่ชาวนานำไปขาย) โรงสีขนาดกลางและขนาดเล็กกำลังปิดตัว(อ้างอิง มติชนออนไลน์ วันที่ 25 กันยายน 2561) ชาวนามีแต่หนี้ที่เพิ่มขึ้น ทั้งที่ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นกระดูกสันหลังของชาติ แต่ในทางตรงกันข้าม คุณเสียค่าใช้จ่ายในการซื้ออาหาร หรือข้าวสารเพื่อบริโภคมากขึ้น ซึ่งเกิดจาก พ่อค้าคนกลาง “MIDDLE MAN” และเพื่อที่จะปัญหาเหล่านี้จึงเกิดเป็นทีเราขึ้นมาครับ
เรา Platform I’rice แพลตฟอร์มบริหารจัดการข้าวและส่งมอบข้าวคุณภาพสู่ร้านค้าทั่วไทย โดยมีถังข้าวIOTที่จะดูแลข้าว จากโรงสีจนถึงมือผู้บริโภค
เรามุ่งหวังที่จะแก้ปัญหาให้กับชาวนาพร้อมกับผู้ประกอบการร้านอาหาร ในเรื่องของวัตถุดิบที่ขายได้ราคาถูกแต่ผ่านพ่อค้าคนกลางทำให้มีราคาสูง ส่งผลให้กำไรที่ได้จากการค้าขายไม่เพียงพอต่อการใช้จ่ายในด้านต่างๆทั้งในส่วนของชาวนาและโรงสี เราจึงคิดค้นวิธีการบริหารจัดการลดราคาข้าวสาร ให้ถูกลง เพื่อรายได้ที่เพิ่มขึ้นของชาวนารวมถึงผู้ประกอบการร้านอาหาร และความสะดวกสบายในการซื้อ/ขาย
ปัจจุบัน ชาวนาเริ่มมีความตระหนักถึงราคาขายข้าวเปลือกที่ถูกกดราคามากขึ้นและผู้ประกอบการร้านอาหารบางส่วนมีความตระหนักถึงสาเหตุที่ทำให้เขาต้องซื้อข้าวสารในราคาสูง ซึ่งพวกเขาทราบเป็นอย่างดีว่า นี่เกิดจากการเก็งกำไร” speculation”ของพ่อค้าคนกลาง ที่มีการส่งต่อ ข้าวสารอย่างหลายทอดกว่าจะออกสู่ตลาด ทำให้มีราคาขายที่สูง ถึงแม้จะทราบข้อเท็จจริงเป็นอย่างดี แต่ตัวชาวนาเองหรือผู้ประกอบการเองก็ไม่สามารถแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ เนื่องจากปัจจัยหลายอย่าง
ในฐานะที่เรามีความรู้และความสามารถมากพอ ที่จะสามารถช่วยเหลือชาวนาและผู้ประกอบการร้านอาหารได้ จึงได้คิดค้นวิธีการบริหารจัดการลดราคาข้าวสาร ที่จะแก้ไขปัญหา ตั้งแต่ต้นน้ำจนปลายน้ำ (Supply chain management) จนได้วิธีที่ตอบโจทย์มากที่สุด โดยเราจะลดกระบวนการในการขนส่ง(Zero waste logistic) ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ข้าวสารที่ขายในปัจจุบันมีราคาที่สูง จึงเกิดเป็นเราขึ้นมา “I'rice”แพลตฟอร์มบริหารจัดการข้าวและส่งมอบข้าวคุณภาพสู่ร้านค้าทั่วไทย โดยมีถังข้าวIOTที่จะดูแลข้าว จากโรงสีจนถึงมือผู้บริโภค เราจะลดการส่งต่อข้าวสารของพ่อค้าคนกลาง ซึ่งถือเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ราคาข้าวสูงขึ้น และนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาช่วยในการจัดการ ทำให้สามารถตรวจสอบการทำงานได้แบบ Realtime
ครั้งที่ | รายละเอียด | รูปภาพ |
---|---|---|
1 | ติดตั้ง sensor ในถังข้าว |
|
2 | วางถังข้าว IoT ที่ร้านกลุ่มทดลอง |
|
3 | ทดสอบการทำงาน บนแอปพลิเคชั่น |
|
4 | ทดสอบการทำงานบนแพตฟอร์ม |
|
5 | ทดสอบประสิทธิภาพการทำงานร่วมกัน ของถังIoT แพตฟอร์ม และการวิเคราะห์ข้อมูล |
|
1 วางแผน (Plan) เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ของระบบ เป็นไปตามเป้าหมาย
1.1 จัดตั้งวัตถุประสงค์
1.2 เขียนแบบร่างอย่างง่ายของการวางระบบ
1.3 เตรียมอุปกรณ์ ภาษา และเครื่องมือในการผลิต
2 ปฏิบัติ (Do) เพื่อสร้างถังข้าว IoT , ระบบคำนวณทางด้านโลจิสติกส์ , ระบบ Data Analytics
2.1 ประกอบชิ้นส่วน IoT เข้ากับถังข้าว
2.2 สร้างแพลตฟอร์มเพื่อแสดงผลค่าต่างๆ สำหรับใช้ในเชิง Data และเชิงพาณิชย์
2.3 สร้างโปรแกรมคำนวณเพื่อความคุ้มค่าทางด้านโลจิสติกส์
2.4 สร้างระบบการขนส่งแบบ milk run เพื่อวางแผนการจัดส่่งจริง
2.5 เชื่อมต่อการส่งข้อมูลจากอุปกรณ์ IoT ไปแพลต์ฟอร์ม และระบบคำนวณทางด้านโลจิสติกส์ต่างๆ
2.6 ทดลองระบบการทำงาน
3 ตรวจวัด (Check) เฝ้าติดตามกระบวนการทำงานเทียบกับวัตถุประสงค์ และข้อกำหนด
3.1 ตรวจสอบความถูกต้องของระบบการทำงานทุกส่วน และแก้ไข
3.2 ตรวจสอบค่าใช้จ่ายจริงจากร้านอาหาร(ค่าไฟ) จากการติดตั้งอุปกรณ์ IoT ให้กับถังข้าว
3.3 จ้างบริษัท Hacker เพื่อตรวจเช็คความปลอดภัยของระบบ
3.4 รับ Feed back จากร้านอาหารที่ทดลองติดตั้งระบบ
4 ปรับปรุง (Act)
4.1 ประเมินผลงานแล้วนำข้อบกพร่องมาปรับปรุงระบบ และ อุปกรณ์ IoT
4.2 ศึกษา เก็บข้อมูล เพื่อนำมาพัฒนาให้ความสมบูรณ์ของระบบมากที่สุด
ครั้งที่ | การดำเนินงาน |
---|---|
1 | R&D พัฒนาแพลตฟอร์มและถังข้าว |
2 | จดทะเบียนบริษัท |
3 | หา Supply ที่เป็นโรงสี |
4 | ส่งพนักงานขายไปคุยกับร้านอาหาร |
5 | วางระบบงาน |
6 | พัฒนา บุคลากร |
7 | หาแหล่งเงินทุน |
นวัตกรรมการบริการส่งมอบข้าวสารสู่ร้านค้าทั่วไทย และระบบถังข้าว IoT