ชุดออกกำลังกาย SPORTY-to-PERFECT ถูกออกแบบมาเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพในการออกกำลังกายแบบเวทเทรนนิ่งของผู้ใช้ และป้องกันอาการบาดเจ็บที่ไม่จำเป็นจากการเล่นเวทที่ผิดท่าทาง โดยชุดออกกำลังกายจะถูกติดกับเซนเซอร์ ได้แก่ accelerometer และ flex sensor เพื่อวัดการโค้งงอและมุมองศาการเอียงจากแนวระนาบของส่วนของร่างกาย และนำมาประมวลผลในไมโครคอนโทรลเลอร์ที่ถูกเขียนโปรแกรมไว้ให้เปรียบเทียบข้อมูลที่ได้จากเซนเซอร์กับฐานข้อมูลท่าทางการยกเวทที่ถูกต้องว่าตรงกันหรือไม่ จากนั้นส่งสัญญาณให้มอเตอร์สั่นแจ้งเตือนเมื่อท่าทางการยกเวทของผู้สวมใส่ในท่านั้น ๆ ถูกต้องแล้ว ให้ผู้สวมใส่เปลี่ยนท่าทางได้ โดยในเครื่องต้นแบบนี้เราได้ทำการบันทึกข้อมูลท่าการออกกำลังกายไว้ทั้งหมด 3 ท่า ไว้ในไมโครคอนโทรลเลอร์ ได้แก่ ท่า Lunge ท่า Squat และท่า Dumbbell row เมื่อผู้ใช้ต้องการเปลี่ยนท่าทางก็จะต้องทำการสับสวิตช์ที่ติดอยู่ที่กล่องก่อน การใช้ชุดออกกำลังกาย SPORTY-to-PERFECT นี้จะทำให้ผู้สวมใส่ชุดสามารถรับรู้ได้ว่า ท่าออกกำลังกายของตนถูกต้องหรือไม่ และสามารถปรับเปลี่ยนท่าทางของตนได้เมื่อท่าทางยังไม่ถูกต้อง
ครั้งที่ | รายละเอียด | รูปภาพ |
---|---|---|
1 | ท่าที่ 1 ท่า Lunge |
|
2 | ท่าที่ 2 ท่า Squat |
|
3 | ท่าที่ 3 ท่า Dumbbell row |
|
สำหรับชุดออกกำลังกาย SPORTY-to-PERFECT 1 ชุด จะประกอบด้วยกล่องควบคุม 2 กล่องติดที่เสื้อออกกำลังกายบริเวณต้นแขนและกางเกงออกกำลังกายบริเวณต้นขา ซึ่งภายในประกอบด้วย Accelerometer ไมโครคอนโทรลเลอร์ แบตเตอร์รี่ Li Po และมอเตอร์ไฟฟ้า ดังรูปที่ 2 และ Flex sensor ที่จะถูกติดที่เสื้อออกกำลังกายบริเวณกระดูกสันหลังและกางเกงออกกำลังกายบริเวณข้อเข่าโดยตรง
Accelerometer ที่ถูกติดตั้งบริเวณต้นขาและต้นแขนจะทำหน้าที่วัดมุมองศาที่ส่วนที่ถูกติดตั้งทำเทียบกับระนาบพื้น และ Flex sensor ที่ถูกติดตั้งที่บริเวณกระดูกสันหลังและใต้ข้อเข่าจะทำหน้าที่วัดการโค้งงอของกระดูกสันหลังและข้อเข่า จากนั้นเซนเซอร์ทั้ง 2 ตัวนี้จะส่งข้อมูลไปประมวลผลในไมโครคอนโทรลเลอร์ที่ถูกเขียนโปรแกรมไว้ให้เปรียบเทียบข้อมูลที่ได้จากเซนเซอร์กับฐานข้อมูลท่าทางการยกเวทที่ถูกต้องว่าตรงกันหรือไม่ แล้วจึงส่งสัญญาณให้มอเตอร์สั่นแจ้งเตือนเมื่อท่าทางการยกเวทของผู้สวมใส่ในท่านั้น ๆ ถูกต้องแล้ว ให้ผู้สวมใส่เปลี่ยนท่าทางได้ ซึ่งหากมอเตอร์ไม่สั่นจะทำให้ผู้สวมใส่รับรู้ได้ว่าท่าออกกำลังกายของตนยังไม่ถูกต้องและต้องปรับเปลี่ยนท่าทางของตนจนกว่ามอเตอร์จะสั่นครั้งที่ | การดำเนินงาน |
---|---|
1 | ออกแบบชิ้นงานเพื่อตอบโจทย์การเพิ่มประสิทธิภาพในการเล่นเวทเทรนนิ่งในราคาที่คนทั่วไปเอื้อมถึง |
2 | ติดต่อบริษัทพันธมิตรโดยเฉพาะบริษัทอิเล็กทรอนิกส์เพื่อสอบถามและทำข้อตกลงเรื่องสเปคและราคาสินค้า |
3 | สร้าง prototype ของชิ้นงานและทำการประเมินสภาพการใช้งาน |
4 | คำนวณต้นทุนและประมาณกำไรที่คาดว่าจะได้ |
5 | ติดต่อของบประมาณการดำเนินธุรกิจ |
6 | ติดต่อฟิตเนสสาขาต่างๆ เพื่อนำสินค้าปล่อยให้ลูกค้าเช่าและทดลองใช้ |
7 | รับฟังกระแสตอบรับและนำมาพัฒนาสินค้าให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า |
8 | นำสินค้าออกจำหน่าย |
ชุดออกกำลังกายที่สามารถแจ้งเตือนเมื่อท่าทางการออกกำลังกายเวทเทรนนิ่ง (ท่า Lunge ท่า Squat และท่า Dumbbell row) ของผู้สวมใส่ถูกต้อง