ชื่อเจ้าของโครงการ สุทารัตน์ พุฒทะพันธ์

เบอร์โทร 0930866721

E-mail sutarat_skw_@hotmail.com

รายละเอียดโครงการ

Step 1 ข้อมูลทั่วไป

รายละเอียดของผลงาน และความเป็นนวัตกรรม

UploadImage
เครื่องออกกำลังกายขาลดความเสี่ยงหกล้มสามารถใช้ออกกำลังกายกล้ามเนื้อขาได้อย่างครอบคลุม ได้แก่ กล้ามเนื้อเหยียดเข่า กล้ามเนื้องอเข่า กล้ามเนื้อกางสะโพก และ กล้ามเนื้อหุบสะโพก ซึ่งการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อดังกล่าว โดยเฉพาะกล้ามเนื้อเหยียดเข่าและกล้ามเนื้อกางสะโพกมีความสัมพันธ์กับปัญหาการทรงตัวในผู้สูงอายุ นอกจากใช้ออกกำลังกายขาเครื่องออกกำลังกายนี้ยังสามารถใช้ออกกำลังกายกล้ามเนื้อแขนได้โดยใช้อุปกรณ์เสริม เครื่องออกกำลังกายขาลดความเสี่ยงหกล้มทำมาจากวัสดุโครงร่างน้ำหนักเบาแต่มีความทนทาน หาได้ง่าย และสามารถทำงานได้หลายรูปแบบเพิ่มขึ้น รวมถึงมีราคาถูกเมื่อเทียบกับผลงานอื่นที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันซึ่งมักเป็นชิ้นงานที่ออกแบบและคิดค้นจากต่างประเทศ ด้วยเหตุนี้นวัตกรรมนี้จึงน่าจะเข้าถึงผู้สูงอายุได้ทุกครัวเรือน ซึ่งจะส่งผลให้ผู้สูงอายุสามารถออกกำลังกายเองที่บ้านได้ สามารถประหยัดเวลาในการเดินทางไปโรงพยาบาลเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย

เอกสารอ้างอิง (ถ้ามี)

ลำดับ ไฟล์ ลิ้งค์
1 1. รายงาน_FALLOWER exercise machine.pdf

แผนธุรกิจที่คาดว่าจะดำเนินการในอนาคต

ขนาดและแนวโน้มของตลาด
ปัจจุบันประไทยกำลังจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ หรือ มีผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 14 ของประชากรทั้งหมด ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ภายในปี พ.ศ. 2567 ประเทศไทยจะมีจำนวนผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ประมาณ 14.6 ล้านคน จากปัจจุบันที่มีจำนวน 11.7 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน 2.9 ล้านคน (เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 490,000 คน) ทำให้ปัจจุบันตลาดรวมธุรกิจและบริการผู้สูงอายุในไทยมีมูลค่าสูงอยู่ราว 1,000 ล้านบาท และ มีอัตราการเติบโต ร้อยละ 15 ต่อปี ซึ่งคาดการณ์ไปอีก 6-10 ปีข้างหน้าตลาดนี้น่าจะโตไปถึง 3,000-4,000 ล้านบาท
จากการสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้สูงอายุโดยสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) พบว่า ค่าใช้จ่ายของผู้สูงอายุแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ 1) ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ (ร้อยละ 53) ได้แก่ ค่าใช้จ่ายสำหรับการรักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายด้านการนวดสปาแพทย์แผนไทย ค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ และ ค่าใช้จ่ายการใช้บริการในสถานดูแลผู้สูงอายุ และ 2) ค่าใช้จ่ายด้านสันทนาการเพื่อความผ่อนคลาย เช่น การซื้อทัวร์ท่องเที่ยว (โดยเฉพาะทัวร์ไหว้พระ/ทำบุญ) และ การจัดเลี้ยงสังสรรค์/ซื้อสินค้า เป็นต้น จากข้อมูลทั้งหมดชี้ให้เห็นโอกาสในการสร้างธุรกิจที่ช่วยแก้ปัญหาสุขภาพในผู้สูงอายุ ซึ่งสามารถตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าผู้สูงอายุที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ยังมีโอกาสทำการตลาดได้ง่ายขึ้นเนื่องจากในสังคมยุคดิจิทัลที่มือถือเข้าแทรกซึมไปทุกที่ พบว่ากลุ่มผู้สูงวัยในยุค 4.0 เป็นกลุ่มที่สนใจและใช้เทคโนโลยีจากสื่อ โดยเฉพาะ social media เป็นประจำ จากการวิจัยของ Kantar พบว่าผู้บริโภคอายุ 55-64 ปี ครอบครองอุปกรณ์ digital device เฉลี่ยแล้วอยู่ที่ 1.8 เครื่องต่อคน โดยร้อยละ 85 เป็นมือถือ ร้อยละ 9 เป็นแทบเล็ต และ ร้อยละ 7เป็นพีซี ผู้สูงอายุใช้เวลาในการรับสื่อดิจิทัลสูงกว่าปีที่ผ่านมา
ตลาดเป้าหมาย
พฤติกรรมผู้สูงอายุแต่ละช่วงอายุมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ทำให้สินค้าและบริการที่ตอบโจทย์หรือเป็นที่นิยมสำหรับผู้สูงอายุก็น่าจะแตกต่างกันในแต่ละช่วงอายุด้วย โดยสินค้าและบริการจะต้องได้คุณภาพและมาตรฐาน มีการออกแบบหรือดีไซน์มาให้สามารถใช้งานได้ง่ายและปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ และสามารถตอบโจทย์พฤติกรรมของผู้สูงอายุ รวมถึงมีราคาที่เหมาะสม การตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ ส่วนหนึ่งอาจจะมาจากผู้ดูแล เช่น บุตรหลาน ซึ่งบุตรหลานถือเป็นแหล่งรายได้หลักของผู้สูงอายุ (ตารางที่ 1)
ตารางที่ 1 ตลาดเป้าหมาย
ผู้สูงอายุ พฤติกรรม สินค้า/บริการที่น่าสนใจ
ช่วงต้น
60-69 ปี
  • ไลฟ์สไตล์ทันสมัยยังสามารถทำงานได้ และพร้อมที่จะเปิดรับสิ่งใหม่ๆ
  • มีการเข้าถึงเทคโนโลยีมากขึ้นชอบเล่นอินเทอร์เน็ตรวมทั้งการซื้อสินค้าออนไลน์
  • มีสังคมและต้องการที่จะพบปะเพื่อนฝูง มีความชื่นชอบการซื้อสินค้า/ท่องเที่ยว
  • ให้ความสำคัญกับการดูแลและใส่ใจสุขภาพ
  • กลุ่มอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ เป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน ช่วยเสริมให้มีสุขภาพที่ดี ช่วยชะลอความเสื่อถอยของร่างกาย ย่อยง่าย และ สามารถดูดซึมได้ดี เช่น อาหารคลีน สลัดผักออร์แกนิค น้ำผักผลไม้/น้ำสมุนไพรเพื่อสุขภาพ
  • กลุ่มสินค้าที่ดูแลร่างกายและผิวพรรณ เช่น ครีมบำรุงผิว/ลดริ้วรอย รวมไปถึงอุปกรณ์และเครื่องออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ
  • กลุ่มสินค้าแฟชั่น เช่น เสื้อผ้าแฟชั่น/ชุดชั้นในสำหรับผู้สูงอายุ และเครื่องประดับใส่ออกงาน
  • อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น สมาร์ทวอชที่มาพร้อมกับช่องใส่ยา หรือ ช่วยส่งสัญญาณเตือนให้ผู้สูงอายุทานยา หรือ มีฟังก์ชันเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย/การออกกำลังกาย
ช่วงกลาง
70-79 ปี
  • การดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะอยู่ภายในที่พักอาศัยและยังคงต้องการใช้ชีวิตร่วมกับครอบครัวและมีการทำกิจกรรมร่วมกันกับคนในครอบครัว
  • บางรายอาจจะมีโรคประจำตัวที่ต้องดูแลหรือระวังเป็นพิเศษ หรือ อาจจะเริ่มมีปัญหาด้านสมรรถภาพทางร่างกายที่ลดลง รวมถึงความเหงา
  • กลุ่มอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ จะต้องเป็นอาหารที่ย่อยง่ายและสามารถดูดซึมได้ดี หรือเป็นอาหารที่มีการปรับโภชนาการ หรือคุณค่าทางสารอาหารตามโรคประจำตัวของผู้สูงอายุ หรือตามคำแนะนำของแพทย์
  • เฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน ที่ปรับระดับความสูง-ต่ำของการใช้งานได้ เช่น เตียงนอน/โต๊ะเก้าอี้ที่ปรับระดับได้
  • ที่พักอาศัยและสิ่งอำนวยความสะดวกด้านความปลอดภัย มีพื้นที่หรือโซนสำหรับผู้สูงอายุเป็นสัดส่วนชัดเจน เช่น ห้องนอน-ห้องน้ำสำหรับผู้สูงอายุ ผลิตภัณฑ์ที่ลดการเกิดอันตรายในระหว่างเข้าห้องน้ำ เช่น พื้นกระเบื้องกันลื่น ราวจับ รวมถึงการติดตั้งอุปกรณ์ sensor ตามจุดต่างๆ ในบ้าน เชื่อมกับสมาร์ทโฟน เมื่อเกิดปัญหา หรือ อุบัติเหตุ จะได้รับรู้และช่วยเหลือได้ทัน
ช่วงปลาย
80 ปีขึ้นไป
  • การดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะอยู่ภายในที่พักอาศัย และยังคงต้องการใช้ชีวิตร่วมกับครอบครัวและมีการทำกิจกรรมร่วมกันกับคนในครอบครัว
  • ต้องพึ่งพิง/มีคนดูแลเป็นพิเศษ เริ่มช่วยเหลือตัวเองได้น้อยลง หรือ บางรายไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ มีโรคประจำตัว
  • เครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์ เพื่อช่วยในการรักษาฟื้นฟูรวมทั้งอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน เช่น กลุ่มใช้แล้วทิ้ง (ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ หน้ากากอนามัย) หรือ กลุ่มครุภัณฑ์ เช่น อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจำวัน (รถเข็น เตียงไฟฟ้า ไม้เท้า)
  • ธุรกิจดูแลผู้สูงอายุ (nursing home) โดยเฉพาะการให้บริการผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หรือต้องการการดูแลเป็นพิเศษ ซึ่งจะมีทั้งแบบการให้บริการรายวัน/ระยะยาว หรือ บริการดูแลผู้สูงอายุตามบ้าน
  • ยานพาหนะที่สะดวกสำหรับผู้สูงอายุ เช่น มีทางขึ้นลงของรถเข็นภายในรถมีพื้นที่กว้างเหมาะสำหรับผู้สูงอายุ
 
ส่วนแบ่งทางการตลาด
ปัจจุบันเครื่องออกกำลังกายทั่วไปมีวางจำหน่ายตามท้องตลาด เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านขายอุปกรณ์กีฬา หรือ เว็บไซต์ เป็นต้น ซึ่งบริษัทที่จัดจำหน่ายรายสำคัญ ได้แก่ บริษัท NBA Sport จำกัด และ บริษัท สปอร์ตโซลูชั่น จำกัด เป็นต้น และมีแนวโน้มจะมีบริษัทจัดจำหน่ายเครื่องออกกำลังกายมากขึ้น อย่างไรก็ตามเครื่องออกกำลังขาลดความเสี่ยงหกล้มมีวัตถุประสงค์และกลุ่มเป้าหมายชัดเจน ร่วมกับกลุ่มเป้าหมายจะมีขนาดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามการปรับเปลี่ยนเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ จึงคาดว่าจะได้ส่วนแบ่งการตลาดสูง คือ ประมาณ ร้อยละ 30 เป็นอย่างต่ำ

กลยุทธ์ทางธุรกิจ
การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค (SWOT analysis)
จุดแข็ง (Strength; S)
-    ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพดีคุ้มค่ากับราคา
-    ผลิตภัณฑ์ง่ายต่อการใช้งาน เคลื่อนย้ายสะดวก และ มีระบบรักษาความปลอดภัยที่มีคุณภาพ
-    มีช่องทางจัดจำหน่ายที่ครอบคลุมทั่วประเทศ
-    บุคลากรมีความชำนาญเฉพาะทาง
-    เป็นบริษัทที่มีเครือข่ายเป็นโรงพยาบาลเอกชนทุกแห่งในประเทศไทย
-    มีความสามารถในการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า มีการรับประกันสินค้า บริการหลังการขาย และการตรวจคุณภาพประจำปี

จุดอ่อน (Weakness; W)
  • สินค้ายังไม่เป็นที่รู้จัก เนื่องจากเป็นสินค้าที่เพิ่งเปิดตัวใหม่
 โอกาส (Opportunity; O)
-    ประเทศไทยกําลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ มีจํานวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
-    เทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขทำให้เกิดการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ประโยชน์ในการช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สูงอายุ อีกทั้งมีการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตของกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้สูงอายุ

อุปสรรค (Threats; T)
-    นวัตกรรมและเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลง พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์เกิดขึ้นใหม่จำนวนมาก
-    เหตุการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจในประเทศไทยส่งผลให้กำลังซื้อของครัวเรือนในประเทศไทยยังคงชะลอตัว
-    ตลาดกลุ่มผู้สูงอายุเกิดการแข่งขันที่มีแนวโน้มรุนแรงเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน
 

หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน

สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ

Step 2 ข้อมูลโครงการ (ระหว่างการพัฒนา) ปัจจุบัน

โครงการ (ระหว่างการพัฒนา) ปัจจุบัน

โครงการอยู่ในระหว่างติดต่อผู้ประกอบการ

มีผลการทดสอบโครงการ

มี

ผลการทดสอบ

ครั้งที่ รายละเอียด รูปภาพ

แผนธุรกิจ

Step 3 Biz Model Prototype

แนบภาพรูป

รายละเอียดข้อมูลการพัฒนาชิ้น

- ปรับให้พนักพิงและตัวเก้าอี้สามารถปรับสูง-ต่ำและหมุนเปลี่ยนทิศทางได้
- ปรับให้ส่วนการออกกำลังกายกล้ามเนื้อเหยียดเข่าและงอเข่า สามารถปรับความสูง-ต่ำได้  
- เพิ่มความสามารถในการออกกำลังกายได้หลายรูปแบบและครอบคลุมกล้ามเนื้อมากยิ่งขึ้น
- ปรับบริเวณที่ใส่ลูกเหล็กถ่วงน้ำหนัก ให้มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น 

หน่วยงานที่ร่วมสนับสนุน

โครงการประกวดรางวัลนวัตกรรมฯ และ ม.วลัยลักษณ์

ข้อมูลเพิ่มเติมอื่นๆ

ระยะเวลาในการพัฒนา

30 วัน

Step 4 การดำเนินงานต่อไปของโครงการ

ครั้งที่ การดำเนินงาน
1 วิจัยข้อมูลทดสอบการใช้งาน
2 ขออนุสิทธิบัตร

Step 5 สิทธิบัตร

ผลิตชิ้นงานสู่ตลาดวันที่

15 กันยายน 2561

จดสิทธิบัตร / อนุสิทธิบัตร เลขที่

อยู่ในขั้นตอนการดำเนินการและทำวิจัย

ขายชิ้นงานแล้ว / จำนวน

จดบริษัท

Step 6 ผลงานปัจจุบัน

ปัจจุบันธุรกิจเป็งนอย่างไร

ปัญหาที่พบ

สิ่งที่ต้องการพัฒนาต่อ

Thailand Innovation Awards 2018

เครื่องออกกำลังกายขาลดความเสี่ยงหกล้ม (FALLOWER exercise machine)

เครื่องออกกำลังกายขาลดความเสี่ยงหกล้มถูกออกแบบและสร้างมาเพื่อให้ผู้สูงอายุได้ออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา ทำให้ผู้สูงอายุทรงตัว เคลื่อนไหวและทำกิจวัตรประจำวันได้ดีขึ้น ลดความเสี่ยงหกล้ม

ข้อเสนอแนะ

Validation code:

 
© 2018 NIA. All Rights Reserved