ชื่อเจ้าของโครงการ นายณัชพล อวยพร

เบอร์โทร 0989065667

E-mail aon-usave@outlook.com

รายละเอียดโครงการ

Step 1 ข้อมูลทั่วไป

รายละเอียดของผลงาน และความเป็นนวัตกรรม

UploadImage

ความสำคัญและที่มาของผลงาน/สิ่งประดิษฐ์
     เครื่องช่วยประหยัดเชื้อเพลิงหรือ U-save” ซึ่งย่อมาจาก Ultrasonic atomizing & vapourizing equipment มีหลักการทำงานคือ ทำให้อะตอมน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นประจุลบ มีความหนืดต่ำและเบา ด้วยการประยุกต์ใช้ระบบคลื่นเสียงความถี่สูง (คลื่นเหนือเสียง) หรืออัลทราโซนิก (Ultrasonic) ทำให้การฉีดฝอยละอองละเอียดมากที่สุด จึงนับเป็นนวัตกรรมของโลกที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเผาไหม้ให้สมบูรณ์ มีมลพิษต่ำลง มีกำลังงานและอัตราเร่งสูงขึ้น
     เครื่องช่วยประหยัดเชื้อเพลิง (รุ่นที่ 1) ได้รับทุนสร้างและวิจัยจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน ปี 2559 จำนวนเงิน 77,900 บาท ได้รับรางวัล “ดีเด่น” จากการประกวดรางวัล "สุดยอดสิ่งประดิษฐ์เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน" สิ่งประดิษฐ์เพื่อการอนุรักษ์พลังงานดีเด่น ของกระทรวงพลังงาน รับมอบรางวัล ณ ห้องแวนด้า แกรนด์ บอลลูม โรงแรมเบสท์ เวสเทิร์น พลัส แวนด้า แกรนด์ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2560
UploadImage
ภาพที่ 1 เกียรติบัตรผลงานเครื่องช่วยประหยัดเชื้อเพลิง (รุ่นที่ 1) ได้รับรางวัลดีเด่น จากกระทรวงพลังงาน

     ต่อมาจึงได้วิจัยและพัฒนาเป็นเครื่องช่วยประหยัดเชื้อเพลิง (รุ่นที่ 2) ให้มีราคาจำหน่ายไม่เกิน 15,000 บาท ช่วยประเทศชาติในด้านสิ่งแวดล้อม และอนุรักษ์พลังงาน สู่การเป็นผู้สร้างนวัตกรรมตรงตามนโยบายประเทศไทย 4.0
     เครื่องช่วยประหยัดเชื้อเพลิง (รุ่นที่ 2) ได้รับรางวัลที่ 1 (ชนะเลิศ) ทั้งระดับภาคและระดับชาติ จากการประกวดสิ่งประดิษฐ์คิดค้นทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา จัดโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ในงาน Thai Tech Expo 2018 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา ระหว่างวันที่ 4 - 8 กรกฎาคม 2561

UploadImage
ภาพที่ 2 เครื่องช่วยประหยัดเชื้อเพลิง (รุ่นที่ 2) ได้รับรางวัลที่ 1 (ชนะเลิศ) ระดับภาคกลาง-ใต้
(วันที่ 6 กรกฎาคม 2561)

UploadImage
ภาพที่ 3 เครื่องช่วยประหยัดเชื้อเพลิง (รุ่นที่ 2) ได้รับรางวัลที่ 1 (ชนะเลิศ) รอบแชมป์ชิงแชมป์ หรือระดับชาติ
(วันที่ 8 กรกฎาคม 2561)

     เครื่องช่วยประหยัดเชื้อเพลิง (รุ่นที่ 2) ได้รับรางวัล 5 ดาว จากกิจกรรมบ่มเพาะนักประดิษฐ์สายอาชีวศึกษาภาคกลางและตะวันออก จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ณ โรงแรมมารวย การ์เด้น ระหว่างวันที่ 20 - 22 สิงหาคม 2561

UploadImage
ภาพที่ 4 เครื่องช่วยประหยัดเชื้อเพลิง (รุ่นที่ 2) ได้รับรางวัล 5 ดาว บ่มเพาะนักประดิษฐ์สายอาชีวศึกษา
ของ วช. (วันที่ 22 สิงหาคม 2561)

บทคัดย่อ
     รถยนต์ที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกมีมากกว่า 38 ล้านคัน จึงเป็นปัญหาใหญ่ประเทศไทยคือ ต้องใช้ปริมาณเชื้อเพลิงอย่างมหาศาล จากข้อมูลของสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน พบว่าสถิติในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2561 ประเทศไทยมีการใช้น้ำมันดีเซลเฉลี่ย 68.06 ล้านลิตรต่อวัน (เพิ่มขึ้น 3.6%) และใช้น้ำมันกลุ่มเบนซินเฉลี่ย 30.96 ล้านลิตรต่อวัน (เพิ่มขึ้น 4.8%) อีกปัญหาหนึ่งคือ กรุงเทพฯ และเมืองใหญ่ มีปัญหามลพิษทางอากาศรวมทั้งเขม่าควันเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมก่ออันตรายทั้งระยะสั้นและระยะยาวจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของเครื่องยนต์ดีเซลและแก๊สโซลีน
     คณะผู้ประดิษฐ์จึงสร้างนวัตกรรมเครื่องช่วยประหยัดเชื้อเพลิง (รุ่นที่ 2) หรือ U-save 2 ซึ่งย่อมาจาก Ultrasonic atomizing & vapourizing equipment V.2 มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยอนุรักษ์พลังงานและช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม โดยวิจัยและพัฒนาต่อยอดจากเครื่องช่วยประหยัดเชื้อเพลิง (รุ่นที่ 1) ให้สามารถใช้กับรถยนต์ได้ทั้งเครื่องยนต์ดีเซลและแก๊สโซลีนโดยมีราคาจำหน่ายไม่เกินเครื่องละ 15,000 บาท ด้วยการประยุกต์หลักการทางเทคโนโลยีมาใช้กับหลักการทางวิทยาศาสตร์ทำให้อะตอมน้ำมันเป็นประจุลบมีความหนืดต่ำและเบา ด้วยระบบคลื่นเสียงความถี่สูง (คลื่นเหนือเสียง) หรืออัลทราโซนิก (Ultrasonic) มาปรับเปลี่ยนสภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงทำให้น้ำมันเชื้อเพลิงที่ถูกฉีดออกไปแล้วสามารถกลายเป็นฝอยละอองที่ละเอียดและกลายเป็นไอได้อย่างดีที่สุด
     วิธีการดำเนินงาน คือศึกษาประสิทธิภาพจากการทดสอบค่าเขม่าควันของเครื่องยนต์ ความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงของรถยนต์ ศึกษาประสิทธิผลจากความพึงพอใจของผู้ทดลองใช้จากช่างผู้ชำนาญงาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือถ้วยตวง เครื่องวัดเขม่าควัน แบบบันทึก และแบบประเมินผล ค่าสถิติที่ใช้คือร้อยละ ตามมาตราส่วนลิเกิรท์
     ผลที่ได้รับ พบว่าหัวสั่นชุดที่ 1 และ 2 ในชุดปฏิกรณ์อัลทราโซนิกควรมีชุดละ 2 ตัว แท่งลำเรียงคลื่นเหนือเสียงซึ่งทำหน้าที่เป็นลำอิเล็กตรอนมีขนาดและรูปร่างต่างกัน การศึกษาหาประสิทธิภาพพบว่าค่าเขม่าควันของไอเสียลดลงไป 69.73 % ประหยัดเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ดีเซล 15 % สำหรับการหาประสิทธิผลพบว่าผู้ประเมินมีความเห็นว่าผลงานเครื่องช่วยประหยัดเชื้อเพลิงมีประโยชน์และมีคุณค่า ด้านการอนุรักษ์พลังงาน ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน อยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ย = 4.28 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานหรือ SD = 0.83  
     ข้อเสนอแนะ คือกรณีที่ใช้กับเครื่องยนต์ขนาดใหญ่เกินกว่า 3,000 ซีซี. จะต้องมีการวิจัยและพัฒนาระบบควบคุมอัตราการเป็นฝอยละอองสัมพันธ์กับความต้องการกำลังงานของเครื่องยนต์ เช่นรถบรรทุกในภาคลอจิสติกส์ รถไถหรือเครื่องจักรกลซ่อมสร้างทาง เครื่องเรือ เครื่องปั่นไฟฟ้า และเครื่องรถไฟเป็นต้น

UploadImage
ภาพที่ 5 ผลงานเครื่องช่วยประหยัดเชื้อเพลิง (รุ่นที่ 2)

UploadImage
ภาพที่ 6 ตัวอย่างการต่อวงจรไฟฟ้าของเครื่องช่วยประหยัดเชื้อเพลิง (รุ่นที่ 2)
 
UploadImage
ภาพที่ 7 ชุดปฏิกรณ์อัลทราโซนิก ติดตั้งในห้องเครื่องยนต์

UploadImage
ภาพที่ 8 ชุดกำเนิดสัญญาณอัลทราโซนิก ติดตั้งในห้องโดยสารใต้คอนโซลด้านซ้าย
 
UploadImage
ภาพที่ 9 ชุดสาธิตและรถยนต์ที่ติดตั้งเครื่องช่วยประหยัดเชื้อเพลิง (รุ่นที่ 2)

สรุป
     เครื่องช่วยประหยัดเชื้อเพลิง (รุ่นที่ 2) หรือ U-save 2 ย่อมาจาก Ultrasonic atomizing & vapourizing equipment V.2 ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ทำให้อะตอมน้ำมันเป็นประจุลบมีความหนืดต่ำและเบา โดยประยุกต์เทคโนโลยีอัลทราโซนิกจากภาคอุตสาหกรรมมาใช้กับยานยนต์ด้วยระบบคลื่นเสียงความถี่สูง (คลื่นเหนือเสียง) หรืออัลทราโซนิกมาปรับเปลี่ยนสภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงทำให้เมื่อฉีดไปแล้วจะกลายเป็นฝอยละอองที่ละเอียดมากและกลายเป็นไอได้อย่างดีที่สุด รวมตัวกับออกซิเจนได้เร็ว เป็นนวัตกรรมระดับโลกที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเผาไหม้ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น มีกำลังงานและอัตราเร่งสูงขึ้น ประหยัดเชื้อเพลิงมากขึ้น 15 % จึงช่วยอนุรักษ์พลังงานในด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน รวมทั้งเขม่าควันลดลงไปโดยเฉลี่ย 69.73 % จึงช่วยรักษาสภาพสิ่งแวดล้อมในด้านการลดมลพิษทางอากาศ

เอกสารอ้างอิง (ถ้ามี)

ลำดับ ไฟล์ ลิ้งค์
1 แผนธุรกิจ เครื่องช่วยประหยัดเชื้อเพลิง (รุ่นที่ 2) Watermark.pdf

แผนธุรกิจที่คาดว่าจะดำเนินการในอนาคต

     วิจัยและพัฒนาต่อยอดไปใช้กับเครื่องยนต์สันดาปภายในขนาดใหญ่ (มากกว่า 3,000 ซีซี.) ที่ใช้เชื้อเพลิงเหลวได้ทุกชนิด ดังต่อไปนี้ (ยกเว้นเชื้อเพลิงแก๊ส/ก๊าซ LPG, CNG/NGV และ LNG) คือ
     1) เครื่องยนต์ขนาดใหญ่ของรถบรรทุกในภาคลอจิสติกส์ 
     2) เครื่องยนต์ทางการเกษตรของรถไถหรือเครื่องจักรกลซ่อมสร้างทาง 
     3) เครื่องยนต์ขนาดใหญ่ของเรือ 
     4) เครื่องยนต์ขนาดใหญ่ของเครื่องปั่นไฟฟ้า 
     5) เครื่องยนต์ขนาดใหญ่ของรถไฟ 
     6) เครื่องยนต์ขนาดเล็กของรถจักรยานยนต์

หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน

1..สำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา 2.กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานกระทรวงพลังงาน 3.กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 4.ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 5.สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยฯ 6.สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ 7.สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

Step 2 ข้อมูลโครงการ (ระหว่างการพัฒนา) ปัจจุบัน

โครงการ (ระหว่างการพัฒนา) ปัจจุบัน

โครงการอยู่ในระหว่างติดต่อหน่วยงานเอกชน

มีผลการทดสอบโครงการ

มี

ผลการทดสอบ

ครั้งที่ รายละเอียด รูปภาพ
1 ติดตั้งชุดกำเนิดสัญญาณอัลทราโซนิกในห้องโดยสารรถยนต์
2 ติดตั้งชุดปฏิกรณ์อัลทราโซนิกในห้องเครื่องยนต์ (ระหว่างกรองเชื้อเพลิงกับปั๊มจ่ายเชื้อเพลิง)
3 ติดตั้งรีเลย์และฟิวส์ในห้องเครื่องยนต์
4 ตรวจสอบแล้วว่า ไม่ผลกระทบของเครื่องช่วยประหยัดเชื้อเพลิง (รุ่นที่ 2) กับระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยช่างผู้เชี่ยวชาญของศูนย์บริการรถยนต์โตโยต้า (บ. โตโยต้ากาญจนบุรี 1995 ผู้จำหน่ายโตโยต้า จก.)
5 ตรวจสอบค่าเขม่าควันก่อนและหลังติดตั้งเครื่องช่วยประหยัดเชื้อเพลิง (รุ่นที่ 2)
6 ตรวจสอบค่าเขม่าควันก่อนและหลังติดตั้งเครื่องช่วยประหยัดเชื้อเพลิง (รุ่นที่ 2)
7 ตรวจสอบค่าเขม่าควันก่อนและหลังติดตั้งเครื่องช่วยประหยัดเชื้อเพลิง (รุ่นที่ 2)
8 เปรียบเทียบค่าเขม่าควันก่อน (แผ่นด้านซ้าย) และหลัง (แผ่นด้านขวา) ติดตั้งเครื่องช่วยประหยัดเชื้อเพลิง (รุ่นที่ 2)
9 ตรวจสอบค่าความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงก่อนและหลังติดตั้งเครื่องช่วยประหยัดเชื้อเพลิง (รุ่นที่ 2)

แผนธุรกิจ

Step 3 Biz Model Prototype

แนบภาพรูป

รายละเอียดข้อมูลการพัฒนาชิ้น

การพัฒนาผลงานเครื่องช่วยประหยัดเชื้อเพลิง (รุ่นที่ 1) สู่ (รุ่นที่ 2)
     เครื่องช่วยประหยัดเชื้อเพลิง (รุ่นที่ 2) มีวิธีดำเนินงานโดยใช้วงจร PDCA; Plan-Do-Check-Act มาประยุกต์กับการผลิต ดังต่อไปนี้ 
1 วางแผน (Plan) เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ของเครื่องช่วยประหยัดเชื้อเพลิง (รุ่นที่ 2) เป็นไปตามเป้าหมาย
   1.1 จัดตั้งวัตถุประสงค์
   1.2 เขียนแบบร่างอย่างง่ายของเครื่องช่วยประหยัดเชื้อเพลิง (รุ่นที่ 2)
   1.3 หากระบวนการสร้างไปสู่ความสำเร็จของผลงานเครื่องช่วยประหยัดเชื้อเพลิง (รุ่นที่ 2)
   1.4 เตรียมวัตถุดิบ
   1.5 เตรียมเครื่องมือ
2 ปฏิบัติ (Do) สร้างชิ้นส่วนแล้วนำไปประกอบเครื่องช่วยประหยัดเชื้อเพลิง (รุ่นที่ 2) เทียบกับข้อกำหนด
   2.1 สร้างชิ้นส่วนที่สามารถกระทำเองได้ภายในแผนกช่างยนต์
   2.2 สร้างชิ้นส่วนบางชิ้นที่ไม่สามารถกระทำเองได้โดยว่าจ้างโรงกลึงทำชิ้นส่วน
   2.3 ประกอบเป็นชุดปฏิกรณ์อัลทราโซนิก
   2.4 ประกอบเป็นชุดกำเนิดสัญญาณอัลทราโซนิก
   2.5 ต่อวงจรไฟฟ้า ฟิวส์และรีเลย์เข้ากับชุดปฏิกรณ์อัลทราโซนิกและชุดกำเนิดสัญญาณอัลทราโซนิก
   2.6 ปรับจูนความถี่ของชุดกำเนิดสัญญาณอัลทราโซนิก
   2.7 ทดลองระบบการทำงาน
3 ตรวจวัด (Check) เฝ้าติดตามกระบวนการทำงานให้กับเครื่องช่วยประหยัดเชื้อเพลิง (รุ่นที่ 2) เทียบกับวัตถุประสงค์ และข้อกำหนด
   3.1 ตรวจสอบระบบการทำงานทุกชิ้นส่วน แล้วแก้ไข
   3.2 ตรวจสอบกำลังไฟฟ้าและความถี่ของชุดกำเนิดสัญญาณอัลทราโซนิก
4 ปรับปรุง (Act)
   4.1 ประเมินผลงานแล้วนำข้อบกพร่องมาปรับปรุงเครื่องช่วยประหยัดเชื้อเพลิง (รุ่นที่ 2)  
   4.2 จัดทำปฏิบัติการเพื่อศึกษา เก็บข้อมูล แล้วพัฒนามาเป็นเครื่องช่วยประหยัดเชื้อเพลิง (รุ่นที่ 2) ให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด

UploadImage
ภาพที่ 10 เปรียบเทียบผลงานเครื่องช่วยประหยัดเชื้อเพลิง (รุ่นที่ 1) กับ (รุ่นที่ 2)
(ขออภัยรูปภาพไม่ชัดเจนเนื่องจากไม่ต้องการให้มีการลอกเลียนแบบผลงาน)

หน่วยงานที่ร่วมสนับสนุน

1..สำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา 2.กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานกระทรวงพลังงาน 3.กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 4.ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 5.สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยฯ 6.สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ 7.สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

ข้อมูลเพิ่มเติมอื่นๆ

ขอขอบคุณ 1.หจก.แอกมี่ อัลตร้าโซนิค ทูล 2.บ.โตโยต้ากาญจนบุรี 1995 ผู้จำหน่ายโตโยต้า จก. 3.คณะผู้บริหารของวิทยาลัยเทคนิคกาญจนบุรี

ระยะเวลาในการพัฒนา

จากรุ่นที่ 1 สู่รุ่นที่ 2 ใช้เวลาในการพัฒนาผลงาน 1/2 ปี

Step 4 การดำเนินงานต่อไปของโครงการ

ครั้งที่ การดำเนินงาน
1 จดทะเบียนบริษัท
2 ขอใบรับรองผลงาน
3 ขอใบรับรอง มอก.
4 กู้เงินจากแห่งเงินทุน
5 ก่อสร้างโรงงาน และติดตั้งเครื่องจักร
6 จ้างพนักงาน และประชาสัมพันธ์สินค้า
7 ทดสอบ และผลิต
8 จัดจำหน่าย และติดตั้ง
9 บริการหลังการขาย และแต่งตั้งตัวแทนจำหน่าย
10 วิจัยและพัฒนา

Step 5 สิทธิบัตร

ผลิตชิ้นงานสู่ตลาดวันที่

12 กันยายน 2561

จดสิทธิบัตร / อนุสิทธิบัตร เลขที่

สิทธิบัตรคำขอเลขที่ 1801003680 (วันที่ 20 มิถุนายน 2561)

ขายชิ้นงานแล้ว / จำนวน

1

จดบริษัท

-

Step 6 ผลงานปัจจุบัน

ปัจจุบันธุรกิจเป็งนอย่างไร

อยู่ระหว่างการเจรจาสู่เชิงพาณิชย์

ปัญหาที่พบ

   ต้องลดต้นทุนการผลิต จากการสรุปแผนธุรกิจเบื้องต้นมีต้นทุนการผลิตจากค่าค่าวัตถุดิบ ค่าแรงงาน ค่าบริหาร ค่าน้ำ-ค่าไฟ ค่าบรรจุภัณฑ์ และอื่นๆ (สมมุติฐานของโครงการ)
 

สิ่งที่ต้องการพัฒนาต่อ

   เพิ่มกระบวนการวิจัยและพัฒนา ซึ่งขณะนี้กำลังดำเนินการเพื่อนำสู่กระบวนการเชิงพาณิชย์จริง แต่เป็นเครื่องช่วยประหยัดเชื้อเพลิง (รุ่นที่ 3) เพื่อให้มีต้นทุนการผลิตที่ถูกลง

Thailand Innovation Awards 2018

เครื่องช่วยประหยัดเชื้อเพลิง (รุ่นที่ 2) หรือ U-save 2

นวัตกรรมด้านยานยนต์ช่วยประหยัดน้ำมันด้วยเทคโนโลยีอัลทราโซนิกกับเครื่องยนต์ดีเซลและแก๊สโซลีน 1,000–3,000 ซีซี

ข้อเสนอแนะ

Validation code:

 
© 2018 NIA. All Rights Reserved